วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นมัสการพระธาตุพนม

                                                   




เดินทางมาถึงวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จอดรถภายในบริเวณวัดซึ่งมีลานจอดรถค่อนข้างไกล แล้วจึงได้รู้ทีหลังว่าอีกประตูหนึ่งซึ่งเป็นประตูตรงเข้าองค์พระธาตุจะมีลานจอดรถที่เดินใกล้กว่าอยู่อีกด้านหนึ่งของถนน
หน้าวัด



องค์พระธาตุพนม


พิธีรำบูชาพระธาตพนม

ในกรณีของพระธาตุพนมก็เหมือนกับปูชนีสถานในประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา คือ ได้ดัดแปลงรูปแบบแห่งการเคารพบูชาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในจำนวน ๔ แห่ง ซึ่งได้แก่สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในความหมายว่า พระบรมสารีกขธาตุและส่วนที่เหลืออื่น ๆ ของพระพุทธเจ้า เป็นสื่อแทนพระองค์ในความรู้สึกของผู้มีศรัทธา ดังนั้น พระสถูปเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พร้อมส่วนที่เหลืออื่ๆจึงถือเป็นจุดรวมแห่งการแสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ


นับตั้งแต่ที่เชื่อถือกันว่าพระธาตุพนมเป็นสถานที่อันควรแก่การแสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ ของชาวพุทธแล้ว บรรดาชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธาจากทุกสารทิศทั่วประเทศทั้งไทยและลาว ต่างก็ได้หลั่งไหลมาแสวงบุญเป็นจำนวนมากตลอดปี โดยพากันประกอบพิธีทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเทศกาลประจำปีตลอดทั้ง ๗ วัน ๗ คืน ซึ่งมีขึ้นในระหว่างปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือเริ่มจากวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ มีบรรดาชาวพุทธที่มีศรัทธาจำนวนมากชุมนุมกันนมัสการพระธาตุ และบำเพ็ญกุศลอื่น ๆ ซึ่งมีขึ้นภายในบริเวณพระธาตุ เช่น กราบพระธาตุ บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ปิดทองเปลว และกล่าวคำนมัสการ เป็นต้น



                                                                 ตำนานพระอุรังคธาตุ


เสด็จดอยกปณคิรี (ภูกำพร้า ธาตุพนม)


ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จมาทางอากาศ ประทับที่ดอยกปณคิรี คือ ภูกำพร้าในราตรีนั้นวิสสุกรรมเทวบุตรลงมาอุปัฏฐากพระองค์อยู่ตลอดรุ่ง กาลนั้นพระองค์ทรงผ้าแล้วเอาบาตรห้อยไว้ที่หง่าหมากทัน ไม้ป่าแป้ง ต้นหนึ่ง เบื้องทิศตะวันตกแล้วเสด็จลงไปสู่ริมแม่น้ำที่นั้นเพื่อชำระพระบาท บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระยาอินทร์ก็กระด้างแก่นแข็ง พระยาอินทร์เห็นเหตุด้งนั้น ก็เสด็จลงไปสู่ป่าหิมพานต์ นำเอาน้ำแต่สระอโนดาตและไม้สีฟันมาถวาย พระพุทธองค์ทรงชำระพระบาทแล้วก็ทรงบาตร ผินพระพักไปสู่ทิศตะวันออก เสด็จไปประทับอิงต้นฮังต้นหนึ่ง อยู่ใต้ปากเซทรงทอดพระเนตรเมืองศรีโคตบองเพื่อจเข้าไปบิณฑบาตรในเมืองนั้นครั้งนั้นพระยาเจ้าเมืองศรีโคตบองนั้นเป็นผู้ได้ทรงบำเพ็ญบุญสมภารกตาธิการมาแต่หนหลังเป็นอันมาก เหตุนั้นจึงได้เสวยราชสมบัติในบ้านเมืองในชมพูทวีปเป็นครั้งที่ 3 เพื่อจัดได้โชตนาพระพุทธศาสนา จึงได้เชื่อว่าพระยาศรีโคตบูร พระยาเห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงทูลอาราธนาให้พระองค์ไปรับบิณฑบาตในพระราชฐานเมือพระองค์ทรงรับข้าวบิณฑบาตรแล้ว ก็ส่งบาตรให้พระยาโคตบูร แล้วก็เสด็จมาประทับต้นรังดังเดิม ส่วนพระยาเมื่อรับเอาบาตรจากพระพุทธองค์แล้วก็ยกขึ้นเหนือพระเศียรทำความปรารถารแล้วจึงนำบาตรไปถวายพระองค์ที่ประทับอยุ่พระพุทธองค์ทรงรับเอาบาตรแล้วก็เสด็จกลับมาทางอากาศประทับที่ภูกำพร้าดังเก่า พระยาศรีโคตบูรเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางอากาศดังนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นประนมทอดพระเนตรพระศาสดาจนสุดชั่วพระเนตรจึงคำนึงในพระทัยว่าอยากจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเสด็จกลับคืนสู่พระราชนิเวศน์

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาพระธาตุพนม

พระธาตุพนมบรมเจดีย์ ตอน ประวัติความเป็นมา

พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข

ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า


บัญญากาศในงานมัสการพระธาตุพนม

ในกรณีของพระธาตุพนมก็เหมือนกับปูชนีสถานในประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา คือ ได้ดัดแปลงรูปแบบแห่งการเคารพบูชาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในจำนวน ๔ แห่ง ซึ่งได้แก่สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในความหมายว่า พระบรมสารีกขธาตุและส่วนที่เหลืออื่น ๆ ของพระพุทธเจ้า เป็นสื่อแทนพระองค์ในความรู้สึกของผู้มีศรัทธา ดังนั้น พระสถูปเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พร้อมส่วนที่เหลืออื่น ๆ จึงถือเป็นจุดรวมแห่งการแสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ




นับตั้งแต่ที่เชื่อถือกันว่าพระธาตุพนมเป็นสถานที่อันควรแก่การแสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ ของชาวพุทธแล้ว บรรดาชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธาจากทุกสารทิศทั่วประเทศทั้งไทยและลาว ต่างก็ได้หลั่งไหลมาแสวงบุญเป็นจำนวนมากตลอดปี โดยพากันประกอบพิธีทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเทศกาลประจำปีตลอดทั้ง ๗ วัน ๗ คืน ซึ่งมีขึ้นในระหว่างปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือเริ่มจากวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ มีบรรดาชาวพุทธที่มีศรัทธาจำนวนมากชุมนุมกันนมัสการพระธาตุ และบำเพ็ญกุศลอื่น ๆ ซึ่งมีขึ้นภายในบริเวณพระธาตุ เช่น กราบพระธาตุ บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ปิดทองเปลว และกล่าวคำนมัสการ เป็นต้น




บอก WEB นี้ให้เพื่อน :